Bio Essence BN Top
สาระน่ารู้

เบื่อ! อยากแก้โรคขี้ลืม ความจำสั้น ทำยังไงดี?

6,658
24 พ.ย. 2563
      เบื่อ ขี้ลืมมาก ทำไงดี? เรื่องของความขี้ลืมนี่เป็นปัญหาที่โมโหมาก โกรธตัวเองสุด ๆ ทั้งโทรศัพท์ ทั้งกุญแจ หนักสุดก็น่าจะเป็นแว่น หาตั้งนาน สุดท้ายลืมว่าเสียบไว้อยู่บนหัวตัวเอง! ;-;

      อาการนี้น่าจะเป็นปัญหาที่แทบทุกคนล้วนเคยมีประสบการณ์ แต่ถ้าลืมแค่นิด ๆ หน่อย ๆ ก็ยังพอจะปล่อย ๆ ได้ แต่บางคนกับลืมบางสิ่งในสถานะการที่อาจเกิดอันตรายได้ เช่น ลืมถอดปลั๊กเตารีดก่อนออกจากบ้าน ลืมปิดแก๊ส หรือลืมเรื่องสำคัญอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อชีวิต ดังนั้นเราต้องมาหาทางแก้กันค่ะ จะปล่อยไว้แบบนี้ไม่ได้เด็ดขาด!



เบื่อ! อยากแก้โรคขี้ลืม ความจำสั้น ทำยังไงดี?

ขี้ลืม เกิดจากอะไร?


  1. อันดับแรก ต้องมาสำรวจตัวเองก่อนว่าเราขี้ลืมเพราะอะไรกันนะ หรือเพราะมีเรื่องให้คิดให้ต้องจำเยอะในแต่ละวัน ซึ่งกรณีนี้มักเกิดกับคนที่มีภาระหน้าที่มากมาย เมื่อต้องทำอะไรหลายๆอย่างก็จะมีพลาดบ้างเพราะจำไม่ได้

  2. สภาวะอารมณ์ไม่ปกติ ขาดสมาธิ ก็อาจจะส่งผลต่อความจำที่ไม่ดีด้วยเช่นกัน เช่นคนที่มีเรื่องเครียด มีภาวะซึมเศร้า อาการเหล่านี้ก็อาจส่งผลต่อสมาธิและทำให้ลืมนู่นลืมนี่ แม้แต่ขณะที่กำลังพูดก็ลืมสิ่งที่ตัวเองอยากพูดอยู่บ่อยๆ ก็ได้นะคะ 

  3. ขี้ลืมเป็นนิสัยอยู่แล้ว คือเมื่อมาเช็คแล้วเราไม่ได้เป็นคนที่ตรงกับปัญหาการขี้ลืมอื่น ๆ ในกรณีที่กล่าวข้างบน ก็อาจจะเป็นเพราะเราขาดความรอบคอบก็เป็นได้ 

  4. สาเหตุสุดท้ายของคนขี้ลืมอีกข้อ คือ อาจมีอาการสมองเสื่อม กรณีนี้จะชัดเจนว่าไม่ใช่แค่ขี้ลืมธรรมดา แต่อาจลืมไปเลยว่าคนที่เราเคยพบเจอคือใคร ไม่เว้นแต่คนที่สนิท หรือลืมทุกเรื่องแม้กระทั่งสิ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการก็อาจจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนคนรอบข้างสังเกตได้ ข้อนี้อันตรายมาก เพราะอาจส่งผลต่อความเสี่ยงในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์นะคะ 


เบื่อ! อยากแก้โรคขี้ลืม ความจำสั้น ทำยังไงดี?


แล้วแก้โรคขี้ลืม ยังไงดีล่ะ?


  1. พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับไม่พอจะทำให้สมองเบลอไปตลอดทั้งวัน ยิ่งหากพักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกันหลายวันก็จะยิ่งแย่เข้าไปอีก! ทำงานไม่รู้เรื่องแน่ ๆ แหละ

  2. ควรจัดพื้นที่สำหรับวางของใช้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อเลือกหยิบใช้ง่าย โดยเฉพาะของที่มักจะลืมเป็นประจำ เช่น กุญแจ ก็อาจจำเป็นต้องมีตู้เก็บกุญแจ หรือที่แขวนกุญแจไว้โดยเฉพาะ เมื่อใช้เสร็จก็ควรบอกตัวเองว่าให้นำไปวางไว้ตรงนั้นเสมอก็จะช่วยได้ค่ะ

  3. สิ่งของที่นาน ๆ จะหยิบออกมาใช้ ให้เก็บใส่ลิ้นชักหรือกล่องที่เขียนแปะหน้ากล่องเอาไว้ให้ชัดเจนว่าเก็บอะไรเอาไว้บ้าง เพื่อที่วันหนึ่งเราอยากจะหาของชิ้นนั้นจะได้หาเจอง่าย ๆ ไม่ต้องรื้อบ้านเพื่อของชิ้นเดียวนะค้า

  4. เขียนโน้ตใส่สมุดสำหรับลิสท์และเรื่องที่ต้องจำหรือต้องทำในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ไปเลยค่า เพื่อที่เราจะได้มีสิ่งย้ำเตือนว่าวันไหน เวลาไหน เราต้องทำอะไร ตัวช่วยเตือนความจำที่ง่ายเวอร์! แต่ก็ไม่ควรจดรหัสผ่านที่สำคัญลงในสมุดโน้ต เพราะถ้าทำหายก็น่าจะเรื่องใหญ่เหมือนกันนะคะ

  5. Post it หน้าตู้เย็น หรือกระจก ก็ช่วยได้นะ! แค่จดสิ่งที่ห้ามลืมเอาไว้เลย เช่น “วันนี้กินยาแล้วหรือยัง” 

  6. ใครที่ต้องมีกิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำ ต่อเนื่อง เช่น การกินยา คำแนะนำของเราก็คือ ควรมีกระดาษจดทุกครั้งที่กินยาไปเลย เช่น ✓ เช้า ✓ เที่ยง ✓ เย็น เมื่อกี้มื้อไหนเสร็จก็ติ๊กไปเลย จะได้ไม่ต้องมานั่งนึกว่าสรุปชั้นกินยารึยังนะ จะกินเข้าไปอีกก็ไม่ได้นะ ดังนั้นจดไปเลยค่า~

  7. ฝึกตัวเองที่จะวางของบางอย่างไว้เฉพาะจุดเสมอ เช่น แว่นสายตา โทรศัพท์มือถือ รีโมท เวลาหาไม่เจอจะได้รู้ว่ามันจะไม่ไปอยู่ตรงจุดอื่นนอกเหนือจาก 1-3 จุดนั้น

  8. จดชื่อคนและชื่อสถานที่ ชื่อสิ่งที่มักลืมเอาไว้ในสมุดโน้ตเป็นหมวดหมู่ พร้อมรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ

  9. พูดสิ่งที่ได้ยินซ้ำๆ จะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น

  10. ฝึกสมองด้วยการท่องจำเบอร์โทรศัพท์แทนการเซฟในเครื่องเอาไว้ใช้งานง่ายเพียงอย่างเดียว หรืออาจทำทั้งสองทาง โดยถ้าไม่รีบมากก็เลือกกดเบอร์โทรแทนการเสิร์ชหาชื่อก็จะยิ่งช่วยเพิ่มการจดจำของเรามากขึ้นค่ะ

  11. บริหารสมองด้วยการเล่นเกมต่าง ๆ และการฝึกใช้นิ้วมือเพื่อทำสิ่งยาก ๆ รวมถึงการเขียน เพราะสมองและนิ้วมือนั้นเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างน่าทึ่ง การฝึกใช้นิ้วมือให้คล่องแคล่วจะไปกระตุ้นเซลล์สมองให้ทำงานแตกแขนงออกไปเรื่อย ๆ และนั่นก็จะช่วยให้ความจำดีได้ด้วย

  12. เข้าสังคมบ้าง ก็จะช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้สมองมีสมาธิในการจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้มากกว่าเวลาที่เรามีความเครียด

  13. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะช่วยแก้ปัญหาได้หลายอย่างที่เกิดกับร่างกายของเรา ทั้งสมอง กล้ามเนื้อ ผิว และระบบภายใน แต่ที่แน่ ๆ การออกกำลังกายช่วยพัฒนาทักษะการจำ และการคิด รวมถึงลดความเครียด และการนอนหลับที่ดีขึ้น แต่ต้องไม่ออกกำลังกายหักโหมจนเกินไปเพราะจะทำให้มีปัญหาเรื่องการนอนและร่างกายเกิดความเครียดได้เช่นกัน

  14. รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ เน้นโปรตีน และลดไขมันที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อร่างกายลงบ้าง กินพวกไขมันดีโอเมก้า 3 จากปลาทะเลหรือปลาน้ำจืดบางชนิดก็จะช่วยได้ หรือธัญพืชและข้าวซ้อมมือก็ดีต่อระบบประสาท ผักสดผลไม้ก็ขาดไม่ได้เพราะเต็มไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ

  15. ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงบ้าง เพราะเหล้าเบียร์ล้วนมีผลต่อสมอง ต่อความจำ ใครที่ดื่มมากเป็นประจำก็อย่าได้แปลกใจหากจะหลง ๆ ลืม ๆ ลดลงนะค้า          

  16. หาคนช่วยจำ กรณีนี้หากอาการของคุณหนักมาก ๆ ก็ควรหาตัวช่วยใกล้ตัว เปรียบเสมือนผู้บริหารที่จำเป็นต้องมีเลขาส่วนตัว เพราะเชื่อว่าหลายๆคนคงจะได้กลายเป็นเลขาส่วนตัวของผู้ใหญ่ในบ้านไปเรียบร้อยแล้วหลังจากที่ช่วยสมัครสารพัด App ที่ต้องมีรหัสผ่าน ตัวคุณเองก็หาตัวช่วยบ้างก็ได้ถ้ามันไม่ไหวจริง ๆ แต่ที่ดีที่สุดก็คือ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ทำตามหลาย ๆ ข้อด้านบนไปด้วย จะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น

เบื่อ! อยากแก้โรคขี้ลืม ความจำสั้น ทำยังไงดี?


และนี่ก็คือวิธีแก้ปัญหาแบบง่าย ๆ สำหรับคนขี้ลืม
แต่หากใครที่ทำทั้งหมดนี่แล้วยังรู้สึกไม่ได้ช่วยอะไร แนะนำให้ลองไปพบแพทย์ดูนะคะ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคบางอย่างก็เป็นได้นะคะ เพื่อความปลอดภัยแก่ตัวเราน้า

เรียบเรียงโดย : www.cosmenet.in.th
What's new
ป้ายยา! 5 โฟมล้างหน้าลดสิว เคลียร์ทุกสิว ผิวสะอาดใส ไบร์ทขั้นสุดรีวิว  Evergreen 5-Layer Cotton Sheets สำลีแผ่นรีดขอบ เช็ดหน้าสะอาด ประหยัดได้ทั้งสำลีและสกินแคร์รีวิวไพรเมอร์สกินแคร์ SHISEIDO บำรุงผิวเรียบเนียน เมคอัพติดทนMEDMAKER Vitamin E Cream (เมดเมเกอร์ วิตามินอี ครีม)...ลด 3 รอย พร้อมบำรุง...ครีมวิตามินอีที่ควรมีติดบ้าน7 ประโยชน์ของชาเชียวมัทฉะ เครื่องดื่มที่ให้คุณประโยชน์ที่มากกว่าความอร่อย10 สกินแคร์ผิวกระจก (Glass Skin) เคล็บลับหน้าเงาฉ่ำแบบพส.เกาหลี10 สเปรย์กันความร้อน เอาใจคนชอบทำผม ลดปัญหาเส้นผมแห้งเสียดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 14 - 20 เม.ย. 67 (ทุกราศี) แพ้น้ำ สิวขึ้น ทําไงดี? 6 วิธีรักษาสิว ผิวแพ้น้ำ กู้หน้าพังหลังเล่นสงกรานต์กิจกรรม :: ชวนทดลองใช้ กันแดด BSC Expert White Spot Protect Sunscreen SPF50+ PA++++ ปิดจบทุกจุดดำ ผิวปังรับซัมเมอร์ จำนวน 50 รางวัล
COMMENTS
6 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุณค่าาา
27 ส.ค. 2564 เวลา 13:12 น.
ความคิดเห็นที่ 5
ขอบคุณบทความดีๆค่ะ
10 มี.ค. 2564 เวลา 16:44 น.
ความคิดเห็นที่ 4
ชอบมาอ่านบ่อยๆ
12 ก.พ. 2564 เวลา 16:39 น.
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณคะ
27 ม.ค. 2564 เวลา 9:50 น.
ความคิดเห็นที่ 2
ขอบคุณค่ะ
7 ม.ค. 2564 เวลา 21:34 น.
ความคิดเห็นที่ 1
เหมือนจะเป็นเรา แต่ออกมึนๆงงๆ มากกว่า ><
4 ธ.ค. 2563 เวลา 13:17 น.