menu
search
สาระน่ารู้
"อัลไซเมอร์" ไม่ใช่แค่โรคของคนสูงวัยอีกต่อไป!
1,398
22 ก.พ. 2566
อัลไซเมอร์
ภัยเงียบที่อาจไม่ใช่แค่โรคของคนสูงวัยอีกต่อไป เพราะล่าสุดมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อายุเพียง 19 ปีเท่านั้น แล้วเราจะป้องกันตัวเองยังไงได้บ้าง ไปดูกัน!
เมื่อไม่นานมานี้ มีกระแสข่าวคนจีนอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น มีอาการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์และเริ่มมีความผิดปกติเกี่ยวกับความทรงจำตั้งแต่อายุ 17 บอกเลยว่ายังหาสาเหตุไม่ได้ด้วยนะ วันนี้
*Cosmenet
เลยจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ และวิธีดูแลสุขภาพเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์กันค่าา ~
สมองเสื่อมกับอัลไซเมอร์ ต่างกันอย่างไร ?
สมองเสื่อม กับ อัลไซเมอร์
ต่างกันตรงที่
อาการสมองเสื่อมเกิดขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้น มีความหลงลืมและเสื่อมถอยของสมองไปตามวัย
ทำให้ความคิดช้าลงและความแม่นยำของการตัดสินใจน้อยลงไปด้วย แม้จะหลงลืมไปบ้าง แต่หากมีคนบอกใบ้เล็กน้อย ก็จะนึกขึ้นได้ โดยเรื่องที่ลืมก็เป็นเรื่องง่าย ๆ เช่น ลืมว่าวางของไว้ที่ไหน ลืมว่าจอดรถไว้ตรงไหน
แต่สุดท้ายก็จะนึกออกได้
ในขณะที่
อัลไซเมอร์จะมีอาการหลงลืมเหมือนกัน แต่เป็นการลืมแล้วลืมเลย นึกไม่ออก ทั้งในเรื่องสำคัญและเรื่องพื้นฐานในการใช้ชีวิต
อย่างเช่นลืมชื่อคนในครอบครัว ลืมว่าบ้านอยู่ที่ไหน ลืมวิธีทานอาหาร หรือแม้กระทั่งลืมวิธีการปลดล็อคกลอนประตู โดยการเสื่อมของสมองที่เป็นอัลไซเมอร์ จะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นไป แต่เป็นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ยากลำบากมาก
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
สมองเสื่อมและฝ่อลงจากการสะสมของ เบต้า-อะไมลอยด์
ที่ไปจับเซลส์สมอง และส่งผลให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ที่เป็นสารสื่อประสาทและส่งผลโดยตรงกับส่วนของความทรงจำล้วน ๆ
อายุ
ยิ่งอายุมากขึ้น ร่างกายเกิดความเสื่อมถอยและมีความเสี่ยงที่จะทำให้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ โดยเฉพาะในผู้สูงวัยตั้งแต่ 65 - 85 ปี พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์อยู่ที่ 5 - 15 %
พันธุกรรม
สามารถถ่ายทอดกันจากพ่อแม่สู่ลูก ได้แต่พบเป็นส่วนน้อย คือประมาณ 5 % แต่กว่าจะเห็นอาการระยะแรกก็อยู่ที่อายุประมาณ 50 - 60 ปีขึ้นไป
ในส่วนของสาเหตุอื่น ๆ ยังไม่พบมากนัก และในเคสของเด็กจีนที่อายุ 19 ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร ทำไมน้องถึงมีอาการสมองฝ่อก่อนวัยขนาดนี้ ถ้าใครสงสัยหรืออยากอ่านข่าวเพิ่มเติมก็
- จิ้มที่นี่ -
ได้เลย
อาการของโรคอัลไซเมอร์
อาการของโรคอัลไซเมอร์ มีอยู่หลากหลายอาการ เนื่องจากอัลไซเมอร์มีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่
ระยะแรกของโรคอัลไซเมอร์
จะมีอาการหลงลืมบ่อยครั้งจนรู้สึกได้ จะถามคำถามเดิม ๆ ซ้ำ ๆ และพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ หลงทิศหลงทางและทำให้เกิดความเครียด หงุดหงิด ร่วมกับอาการซึมเศร้าได้
ระยะกลางของโรคอัลไซเมอร์
จะมีอาการหลงลืมรุนแรงมากกว่าเดิม เริ่มหลงลืมว่าจะทำอะไร จะไปไหน เดินออกจากบ้านแบบไร้จุดหมาย ส่งผลให้เกิดความเครียดสูงและพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ถ้าเคยสุภาพ ใจเย็น ก็จะใจร้อนขึ้นมากทำให้มีปัญหากับครอบครัวและคนรอบข้างได้
ระยะสุดท้ายของโรคอัลไซเมอร์
ถือว่าเป็นระยะรุนแรงที่สุด การตอบสนองกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวจะน้อยลงและสุขภาพทรุดโทรมลงอย่างเห็นได้ชัด มีปัญหาเรื่องการกินและการเป็นอยู่ทำให้กระทบกับชีวิตประจำวันและคนรอบตัวอย่างมาก ร้ายแรงที่สุดคือการที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จนเป็นเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ และหากร่างกายอ่อนแอมาก ๆ อาจทำให้เกิดภาวะการติดเชื้อที่ทำให้เสียชีวิตได้นั่นเอง
เช็กลิสต์คนขี้ลืม แค่หลงลืมหรือเป็นอัลไซเมอร์ ?
ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่นาน
เช่น คำพูดที่เพิ่งพูดออกไป คนที่เพิ่งเจอ รวมถึงลืมวันสำคัญต่าง ๆ
สับสนเรื่องเวลา
ทำให้นอนและตื่นไม่เป็นไปตามเวลาปกติ
หลงทิศทาง
กลับบ้านไม่ถูก ไปสถานที่ที่เคยไปไม่ได้แล้ว
คิดว่าคนรู้จักเป็นคนแปลกหน้า
รวมถึงจำเพื่อนและครอบครัวไม่ได้
พูดคุยลำบาก
นึกคำไม่ออก พูดประโยคเดิมซ้ำ ๆ
พฤติกรรมเปลี่ยนไป
ก้าวร้าว ฉุนเฉียวรุนแรงมากกว่าปกติ
มีปัญหาเรื่องชีวิตประจำวัน
แปรงฟัน อาบน้ำไม่เป็น
ภาวะเครียด ซึมเศร้า
อยู่ดี ๆ ก็ร้องไห้ออกมาแบบไม่มีสาเหตุ
6 วิธีดูแลสุขภาพเพื่อหลีกเลี่ยงโรคอัลไซเมอร์
เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคจึงเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคดังนี้
ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
เพื่อรับสารอาหารที่ร่างกายต้องการได้ครบ
หลีกเลี่ยงของทอด ของมัน อาหารสำเร็จรูป
ที่มีไขมันอิ่มตัว และคอลเลสโตรอลสูง
ออกกำลังกาย
และรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
และการอยู่ในพื้นที่ที่มีควันเยอะ
ระวังการเกิดอุบัติเหตุ
ที่กระทบกระเทือนสมอง
หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี
และติดตามอาการโรคประจำตัวอยู่เสมอ
นอกจากการดูแลตัวเองอย่างรอบด้านแล้ว ควรหากิจกรรมที่ได้ฝึกสมอง อย่างเช่น อ่านหนังสือ คิดเลข เล่นเกมส์ พบปะสังสรรค์และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน จะทำให้สมองเสื่อมช้าลง และยังทำให้สุขภาพจิตดีอีกด้วยน้าา ~
เป็นยังไงบ้างคะกับ
“โรคอัลไซเมอร์”
ภัยเงียบที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนแล้ว ยิ่งเดี๋ยวนี้มีปัจจัยมากมายที่ทำให้คนเราป่วยง่ายขึ้น ทั้งการปนเปื้อนของอาหาร มลภาวะ ที่ส่งผลให้สุขภาพเสื่อมถอย เราต้องหมั่นเช็กสุขภาพและดูแลตัวเองอยู่เสมอจะได้มีร่างกายที่แข็งแรงกันนะคะทู้กคนน ❤️
Tags:
อัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์อาการ
อัลไซเมอร์ มีกี่ระยะ
อาการอัลไซเมอร์ ระยะสุดท้าย
สมองเสื่อมกับอัลไซเมอร์ ต่างกันอย่างไร
IN THIS SECTION
ครีมกันแดดทำร้ายปะการังจริงมั้ย? ไขข้อสงสัย พร้อมแนะนำครีมกันแดดเป็นมิตรต่อปะการัง
อัปเกรดใหม่! มัดรวมฟีเจอร์น้องชมพิ้ง พร้อมบอกวิธีใช้งานฉบับจับมือทำ
Chompink: AI ที่ทำให้การเลือกซื้อเครื่องสำอางเป็นเรื่องง่าย และตรงใจสำหรับทุกคน
ทำนาย 8 ตำแหน่ง ไฝ ขี้แมลงวันบนฝ่ามือ บอกนิสัย การเงิน โชคลาภ
more+
What's new
more+
COMMENTS
2
ความคิดเห็น
Chortuang
ความคิดเห็นที่ 2
ทางนี้ก็เริ่มหลงๆลืมๆละค่ะ T-T
23 ก.พ. 2566 เวลา 8:27 น.
แม่โบอิ้งมารีวิว
ความคิดเห็นที่ 1
ใช่เลย ไม่ต้องรออายุเยอะ บางทียังหลงๆลืมๆเลยค่ะ??✨??
23 ก.พ. 2566 เวลา 8:17 น.
Recommended By *Cosmenet
BSC
Authentiq Bio Perfect Skin Foundation Powder SPF 50 PA++++
4.6
(11 รีวิว)
อ่านรายละเอียด