คัดมาแล้ว! 5 โลชั่นสำหรับคนผิวแห้ง บำรุงผิวให้เนียนนุ่มจนน่าสัมผัส ~
สาระน่ารู้

คัดแล้ว! 5 กันแดดไม่ทำร้ายประการัง ลิสต์ไว้เผื่อได้ไปเที่ยว

26,755
4 ส.ค. 2564
ครีมกันแดดไม่ทำลายประการัง

    ไอเท็มประจำกระเป๋าที่ขาดไม่ได้ในทริปเที่ยวทะเล ดำน้ำ ดูปะการังแสนสวย ก็ต้องเป็น “ครีมกันแดด” อยู่แล้ว ไหนจะใส่ชุดว่ายน้ำ บิกินี่สุดชิค หรือแม้แต่ชุดบ้าน ๆ อย่างเสื้อกล้าม กางเกงยีนส์ขาสั้น ถ้าไม่มีตัวช่วยสำคัญก่อนตากแดดวิ่งลงทะเล เอาแค่วิ่งไปวิ่งมาบนชายหาดเพื่อเก็บภาพก็ไม่รอดแล้วถ้าเราไม่มีกันแดด โดยเฉพาะแสงแดดแรง ๆ ของฤดูร้อนที่นอกจากจะเปลี่ยนสีผิวให้เป็นสีแทนสวยได้ง่ายแล้ว มะเร็งผิวหนัง หรือไม่ก็อาการผิวไหม้ลอกคราบ แสบแดง ก็น่ากลัวและเป็นได้ง่ายไม่แพ้กัน

    แต่ทุกคนต้องอย่าลืมว่าครีมกันแดดที่เราทานั้น ก็คือสารเคมีอย่างหนึ่ง หากกันแดดเหล่านี้ละลายลงน้ำล่ะ? คนเราเลือกไม่บีบครีมกันแดดเข้าปากกินได้ แต่ปะการัง สัตว์น้ำอื่น ๆ ใต้ท้องทะเล เลือกไม่ได้หรอกนะ… และเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 กรมอุทยานฯ ออกประกาศห้ามใช้ครีมกันแดดที่มีสารเคมี 4 ประเภท เพราะเป็นอันตรายต่อปะการัง หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 20 ประกอบมาตรา 47 มีโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท (อ่านพระราชกิจาฯ เพิ่มเติมได้ที่นี่) ได้แก่ 

  • Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3), 
  • Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate), 
  • 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) 
  • Butylparaben 


-------------------------------------------------------------------------------

" ครีมกันแดดของคุณ อาจทำร้ายปะการัง อัญมณีแห่งท้องทะเลกันอยู่ "

-------------------------------------------------------------------------------


ปะการังฟอกขาว

    สารเคมีในครีมกันแดดนั้นดีต่อผิว ช่วยปกป้องผิวจากโรคมะเร็งผิวหนัง แต่ไม่ดีต่อปะการังหรอกนะ เพราะเมื่อกันแดดละลายลงไปในทะเล สารเคมีจะไปทำลายสาหร่าย Zooxanthalle (สาหร่ายขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง) ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัส ซึ่งสาหร่ายตัวจิ๋วนี้เขามีหน้าที่ผลิตอาหารให้ปะการัง เมื่อปะการังขาดอาหารก็จะตายกันหมด แล้วปะการัง คือ สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ตรงไหนปะการังสมบูรณ์ ระบบนิเวศก็จะสมบูรณ์แข็งแรง มีปลาเล็กปลาใหญ่ สัตว์น้ำต่าง ๆ ใต้ทะเลก็จะอยู่กันครบ

    งานวิจัยตั้งแต่ปี 2014-2016 ที่แสดงให้เห็นถึงปะการังถูกทำลายไปมากมาย โดยเฉพาะที่ออสเตรเลีย เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเพิ่มเป็นวงกว้างอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งมีสาเหตุทั้งทางธรรมชาติจากเอลนีโญ่ และจากน้ำมือมนุษย์ สารเคมีในครีมกันแดดด้วยค่ะ


สารเคมีในครีมกันแดดที่ทำร้ายปะการังมีอยู่ 4 ชนิด


สารเคมี ทำร้ายปะการัง

  • Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3) สารเคมีตัวนี้จะช่วยดูดซับรังสียูวีให้มีความเข้มข้นน้อยลง ไม่ไปทำร้ายชั้นผิว และช่วยเพิ่มความเสถียรในการปกป้องผิวจากแสงแดดอีกด้วย แต่สารเคมีตัวนี้เป็นตัวร้ายที่สุดที่ทำให้ปะการังตาย สร้างความเสียหายกับ DNA ของปะการังที่โตเต็มที่ ส่วนปะการังตัวอ่อนนั้น โครงสร้างภายในก็จะถูกทำลาย ถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงเถอะ

  • Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate) แม้ว่าตัวนี้จะเป็นสารเคมีที่จัดอยู่ในประเภทออร์แกนิก เป็นสารสกัดจากกรดซินนามอน (Cinnamon Acid) เพื่อประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสี UVB แต่นอกจากจะไปทำร้ายปะการังแล้ว นักวิจัยหลาย ๆ คนยังบอกว่า Octinoxate ยังเป็นสาเหตุของริ้วรอยก่อนวัยได้ เพราะขณะที่มันช่วยปกป้องผิวเราจากแสงแดดมันก็ผลิตอนุมูลอิสระออกมาทำลายผิวเช่นกัน รู้แล้วก็ระวังกันไว้เลยนะ

  • 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) สารเคมีอีกตัวที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยการดูดซับรังสียูวี และเป็นตัวช่วยร่วมกับสารเคมีตัวอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความเสถียรในการปกป้องผิวจากแสงแดด และก็เป็นอีกตัวเช่นกันที่มักจะถูกชะล้างลงไปปนเปื้อนในมหาสมุทรและทำร้ายปะการัง

  • Butylparaben หรืออีกชื่อคือ พาราเบน ที่เรารู้จักกันดีเพราะหลาย ๆ แบรนด์ต่างเคลมว่าไม่มีสารตัวนี้ เป็นสารกันเสียที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของกันแดดให้ใช้ได้นานขึ้น มีหน้าที่ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียไม่ให้เจริญเติบโต สรรพคุณฟังดูดี แต่พาราเบนเป็นสารเคมีอีกตัวที่ทำให้ปะการังตาย นอกจากนั้นยังทำร้ายผิวอีกต่างหาก เพราะเป็นสารที่ทำให้ผิวระคายเคือง

ทางเลือกปกป้องแสงแดดแบบไม่ทำร้ายปะการัง


    รู้แบบนี้แล้วเราก็ควรมองหาวิธีอื่นกันแล้วล่ะ เข้าใจสาว ๆ ที่กลัวผิวไหม้ กลัวดำ กลัวแดด กลัวมะเร็ง เรายังมีทางเลือกอื่น ๆ ที่จะช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีแบบไม่ทำร้ายปะการังด้วยนะจ๊ะ

กันแดดไม่ทำลายประการัง


     1.  เลือกใช้ครีมกันแดดที่เคลมว่าไม่ทำร้ายปะการังโดยเฉพาะ เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดถ้าคุณไม่ชอบกลิ่นของน้ำมันมะพร้าว นอกจากนี้ยังมีครีมกันแดดแบรนด์อื่น ๆ ที่ปราศจากสารทั้ง 4 ตัวที่ทำร้ายปะการัง อย่างเช่น 

  • ครีมกันแดด Bioderma Photoderm Aquafluid Neutral : ครีมเนื้อฟลูอิดบางเบา เกลี่ยง่าย ซึมซาบเร็ว ปราศจากน้ำมันไม่ทำให้ผิวหน้ามันวาวหรือทิ้งคราบขาว เป็นอีกหนึ่งกันแดดที่ไม่ทำร้ายประการังที่อยากแนะนำเลยค่ะ
    ช้อปออนไลน์ได้ที่นี่ : Central Online

  • ครีมกันแดด La Roche Posay ANTHELIOS XL Dry Touch Gel-Cream SPF 50+ : กันแดดคุมมันเนื้อเจลครีม สำหรับผิวมัน - ผิวที่เป็นสิวง่าย ซึมเร็ว ไม่เหนอะผิว ปราศจากน้ำหอม และพาราเบน ไม่มีไม่ได้แล้วแหละ~
    ช้อปออนไลน์ได้ที่นี่ : Shopee

  • ครีมกันแดด ReReef Reef-Safe Sunscreen SPF50 PA+++ : แม้หลายคนจะไม่คุ้นหน้า แต่เค้าเป็นครีมกันแดดแบรนด์ไทยที่ทำผลิตภัณฑ์เพื่อประการังที่แท้ทรู นอกจากนี้ยังได้เลือกใช้สารสกัดจากธรรมชาติบำรุงผิว เช่น น้ำมันโจโจ้บา, Vitamin B3, Vitamin E และว่านหางจระเข้ แทนสารเคมีสังเคราะห์ให้มากที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าส่วนผสมทั้งหมดจะย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ในธรรมชาติ นอกจากจะกันแดดแล้วยังรักท้องทะเลด้วยนะค้า
    ช้อปออนไลน์ได้ที่นี่ : 
    ReReef

  • ครีมกันแดด Claire Airy Essence UV Protector SPF50+ PA++++ : ครีมกันแดดเนื้อบางเบา สูตรลดอุณหภมิผิว ช่วยปกป้องได้ถึงระดับชั้นผิว มีคุณสมบัติช่วยลดการทำงานของ NF-kB ส่งผผลลดการเกิดอักเสบ ลดอุณหภูมิ และลดรอยแดงบนผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแน่นอนค่ะทางแบรนด์เค้าก็บอกเลยว่าเค้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง เน้นความเป็นมิตรกับธรรมชาติอย่างมากที่สุดเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ภายใต้ท้องทะเล
    ช้อปออนไลน์ได้ที่นี่ : 
    Shopee

  • ครีมกันแดด NIVEA Protect & Refresh Cooling Sun : เป็นอีกหนึ่งกันแดดไม่ทำร้ายปะการังที่ควรโดนมักมาก นอกจากปกป้องผิวด้วย SPF50 แล้ว ยังให้ความเย็นทุกครั้งที่ฉีดอีกด้วยค่ะ ตัวนี้เป็นสูตรกันน้ำไร้สี เนื้อบางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ และที่สำคัญสุดไม่มีสารกันแสงแดดที่ทำร้ายปะการัง!
    ช้อปออนไลน์ได้ที่นี่ : Shopee

     2.  น้ำมันมะพร้าวช่วยกันแดดได้ น้ำมันมะพร้าวมีสารที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดแบบอ่อน ๆ อยู่ ให้การปกป้องเทียบเท่ากับ SPF25 นอกจากนั้นยังช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยปลอบประโลมผิวจากการถูกแสงแดดทำร้ายอีกด้วย ใช้ชโลมผิวหนังและเส้นผม รอจนซึมเข้าสู่ผิว แล้วก็วิ่งลงทะเลได้เลย

     3.  ใช้ครีมกันแดดแบบกันน้ำ (Water resistant) เพราะอย่างน้อยคราบครีมกันแดดก็ถูกชะล้างลงสู่ทะเลน้อยกว่าแบบไม่กันน้ำ อีกทั้งเราเองไปเที่ยวทะเลกก็เน้นกิจกรรมที่ตัวต้องแช่อยู่ในน้ำนาน ๆ อยู่แล้ว ถ้าทากันแดดแบบไม่กันน้ำ ก็จะไม่ได้การปกป้องผิวจากแสงแดดเท่าไหร่นะ

     4.  ใส่ชุดว่ายน้ำปกปิดผิวให้มิด ชุดว่ายน้ำแบบแขนยาวขายาวเดี่ยวนี้เค้ามีเคลมว่าใช้เนื้อผ้าพิเศษที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV ด้วยนะ

     5.  เลือกใช้ครีมกันแดดที่สามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ (Biodegradable) เพื่อไม่ให้สารเคมีอันตรายตกค้างอยู่กับธรรมชาตินานเกินไป อย่างกันแดด WATERLOVER SUNMILK จาก BIOTHERM ส่วนผสมสามารถย่อยสลายได้โดยกระบวนการทางชีวภาพถึง 58% ปกป้องผิวกาย และชีวภาพทางน้ำที่เรารักค่ะ

ปะการังนั้นสำคัญไฉน


ปะการัง

    ปะการัง คือ ป่าของทะเล โลกใต้น้ำที่ยิ่งใหญ่ มีความหลากหลายทางชีวภาพไม่ต่างจากบนบก ชีวิตในท้องทะเลล้วนเกี่ยวเนื่องกับปะการัง พึ่งพาอาศัยกันแบบต้นไม้และสัตว์ต่าง ๆ นั่นแหละ

    เคยดำน้ำแล้วได้ยินเสียงปลานกแก้วเอาฟันเหยิน ๆ ขูดหินปะการังไหม.. เจ้าปลานกแก้วเหล่านี้ขูดกินหินเข้าไปแล้วถ่ายออกมาเป็นเม็ดทราย ช่วยเติมทรายให้กับท้องทะเล

    ปะการังช่วยชะลอคลื่นไม่ให้กัดเซาะชายฝั่ง ถ้าไม่อยากให้ชายหาดสวยงามต้องพัง และเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ เราก็ต้องช่วยกัน ท้องทะเลช่วยดูดซับความร้อนของโลกเอาไว้ได้ถึง 90% และการมีชีวิตอยู่ของปะการังจะช่วยกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ ทุกอย่างเกิดขึ้นไปตามธรรมชาติ ด้วยการมีอยู่ของระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ...และเหตุผลสุดท้าย ถ้าพวกเราดำน้ำลงไปมองเห็นสุสานปะการัง ท้องทะเลที่หมองหม่นไร้ชีวิต กับปะการังสีสันสดใสสวยงามและหมู่ปลามากมาย คุณชอบแบบไหนมากกว่ากัน? ใช่แล้ว ปะการังคือความงามใต้ท้องทะเลที่ใคร ๆ ก็อยากใส่หน้ากากดำลงไปดู โดยเฉพาะดินแดนอันดามัน ทะเลไทยของเราที่ท้องทะเลสวยงามแบบที่อวดใครต่อใครได้ทั่วโลก

    อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เราก็ทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราทำได้ และส่วนที่เหลือก็มีเหล่านักวิจัยที่พยายามค้นคว้าหาสูตรกันแดดดี ๆ ที่รักษ์โลกมาให้พวกเราได้ใช้กัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารสกัดสาหร่ายทะเล ที่ช่วยป้องกันแสงแดดมาใช้ในครีมกันแดด หรือการนำแคลเซียมคาร์บอเนต ที่จะพบในโครงสร้างของหินปูนปะการัง มาใช้ในการปกป้องปะการังในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อน ก็ไม่อาจช่วยปะการังทั่วโลกได้ การจะเยียวยาธรรมชาติ ทุกคนต้องช่วยกัน ดูแลผิวให้สวยได้ แต่ความสวยของเรา ต้องไม่ใช่แลกมาด้วยความเสียหายของปะการังและสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลใช่ไหมล่ะ


ช่วยกัน Share บทความ เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงผลกระทบของสารเคมีในครีมกันแดดที่มีต่อปะการังและระบบนิเวศในทะเล จะปล่อยให้ปะการังถูกทำลายแบบนี้ต่อไปไม่ได้ เพราะเราจะได้มีทะเลสวย ๆ ไว้ให้ลูกหลานได้ชื่นชมต่อไปนาน ๆ ค่ะ


เรียบเรียงข้อมูลโดย : cosmenet.in.th
What's new
คัดมาแล้ว! 5 โลชั่นสำหรับคนผิวแห้ง บำรุงผิวให้เนียนนุ่มจนน่าสัมผัส ~ รีวิวเรตินอล ELIXIR Retinol Power Wrinkle Smoothing Cream ลดเลือนริ้วรอย เผยผิวเนียนกระชับรีวิว Origins Mega-Mushroom Dark Spot Serum ผิวเนียนใสไบร์ท ไร้จุดด่างดำอัปเดตเทรนด์กันแดด 2024 ใช้ยังไงให้สู้แสงได้ ไม่กลัวผิวเสียเช็ก 6 สัญญาณเตือนแพ้ครีมกันแดด และส่วนผสมที่เสี่ยงต่อการแพ้ คัดเน้น ๆ 19 แชมพูลดผมร่วง 2024 บอกลาผมบาง ต้อนรับผมหนาอีกครั้ง!แนะนำ 14 แป้งพัฟถูกและดี ยี่ห้อไหน คุมมัน ปกปิดเนียน ธรรมชาติ ในราคาหลักร้อยดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 24 - 30 มี.ค. 67 (ทุกราศี) บ้านเดี่ยวยืนหนึ่ง! 5 ทริคทำบุญเสริมดวงความรัก พร้อมคาถาไล่ชู้ ปิดประตูมือที่ 3กิจกรรม :: ชวนทดลอง! BSC Bio Perfect Color Lip ลิปสติก 3 สูตร 3 สไตล์ สีสวยชัด เนื้อเนียน ติดทนนาน จำนวน 100 รางวัล
COMMENTS
15 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 15
ขอบคุณค่ะ
27 ส.ค. 2564 เวลา 13:05 น.
ความคิดเห็นที่ 14
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
10 ส.ค. 2564 เวลา 18:25 น.
ความคิดเห็นที่ 13
ต่อไปคงต้องใส่ใจกับการเลือกใช้ครีมกันแดดให้มากขึ้นแล้ว ขอบคุณสำหรับข้อมุลดีๆนะคะ
10 ส.ค. 2564 เวลา 11:58 น.
ความคิดเห็นที่ 12
ขอบคุณค่ะ
9 ส.ค. 2564 เวลา 12:56 น.
ความคิดเห็นที่ 11
จริงๆ คนซื้อ 99 % เราว่าไม่รู้หรอกว่าผลิตภัณฑ์กันแดดที่ใช้มันไม่ดีต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ส่วนใหญ่พวกเราคงเน้นกันที่ความสามารถกันแดด กับราคา
เนี่ย ถ้ารณรงค์ดีๆก็คงจะดีนะคะ
8 ส.ค. 2564 เวลา 23:13 น.
ความคิดเห็นที่ 10
ขอบคุณ​ค่า
8 ส.ค. 2564 เวลา 9:08 น.
ความคิดเห็นที่ 9
น่าใช้
7 ส.ค. 2564 เวลา 14:43 น.
ความคิดเห็นที่ 8
เป็นคนกลัวการลงน้ำ เพราะงั้นอันนี้น่าจะรอด 55555
5 ส.ค. 2564 เวลา 8:52 น.
ความคิดเห็นที่ 7
ดีเลยไว้มีโอกาสดำน้ำจะลองคร้า
4 ส.ค. 2564 เวลา 20:31 น.
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุณค่ะได้ข้อมูลดีๆเยอะเลย
4 ส.ค. 2564 เวลา 15:09 น.
ความคิดเห็นที่ 5
โชคดีที่ชอบว่ายน้ำสระมากกว่าทะเล แต่ก็ไม่รู้ว่าน้ำที่เล่นที่ใช้ในชีวิตประจำวันกลับลงทะเลมากน้อยแค่ไหนเนี่ยสิคะ
7 ก.พ. 2562 เวลา 13:14 น.
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณค่ะ เวลาเลือกคงต้องเลือกดีๆเลย
4 ก.พ. 2562 เวลา 15:51 น.
ความคิดเห็นที่ 3
ได้ความรู้มากค่ะ
4 ก.พ. 2562 เวลา 14:44 น.
ความคิดเห็นที่ 2
บทความดีมากๆเลยค่ะ ทำให้เราต้องหันกลับไปดูกันแดดที่มีอยู่เลย เริ่มที่ตัวเราก่อนนี่แหละ เลือกใช้ของจากผู้ผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ใครไม่ทำเดี๋ยวพอไม่มีคนซื้อเขาก็ต้องเปลี่ยนเอง
4 ก.พ. 2562 เวลา 8:48 น.
ความคิดเห็นที่ 1
อย่างนี้ต้องบอกผู้ผลิต  คนซื้อลีกเลี่ยงไม่ได้  คนผลิตเท่านั้นที่จะทำได้
3 ก.พ. 2562 เวลา 19:44 น.