รีวิวกันแดดนีเวียเกาหลี NIVEA SUN Sensitive Protect & Light Feel SPF50+ PA+++ เบาสบายผิว ฟีลกู๊ดรับซัมเมอร์!
ทริคความงาม

คุณรู้จัก "พาราเซตามอล" ดีแค่ไหน?

12,288
10 เม.ย. 2561



ทำไมต้องอ่าน...

  • เพราะยาพาราเซตามอลคือยาที่เรากินอยู่เป็นประจำ แต่ถ้าไม่รู้จักมัน สักวันอาจพลาดได้ 

     ไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับยาแก้ปวดที่ชื่อ "พาราเซตามอล" ใช่ม๊ะ? เดี๋ยวนี้พาราเซตามอลเขามาไกลมาก ได้กลายมาเป็นของชำร่วยงานศพเหมือนกับยาดมยาหม่องไปแล้วด้วย แต่พวกเราส่วนใหญ่มักเข้าใจเพียงแค่ ปวดอะไรหรือเป็นไข้ก็กินพาราสักเม็ดสองเม็ด แม้ว่ามันจะเป็นยาสามัญประจำบ้านที่หาซื้อตามร้านสะดวกซื้อได้ตลอด จริง ๆ แล้วยังมีอะไรอีกมากมายเกี่ยวกับเจ้ายาแก้ปวดที่ชื่อว่า "พาราเซตามอล" ตัวนี้ที่หลายคนคงไม่รู้

  1. ชื่อเต็ม ๆ ของพาราเซตามอลคือ "พารา-อะเซตามีโนฟีน่อล" (Para-Acetylaminophenol) บ้านเราเรียกพาราเซตามอล บางคนเรียก อะเซตามีโนเฟน 

  2. พาราเซตามอล จะปลอดภัยหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม คือไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม ต่อโดส (ต่อ 1 ครั้งที่กิน) และไม่เกิน 4000 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ ส่วนคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ไม่ควรเกินวันละ 2000 มิลลิกรัม มิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายต่อตับได้    

  3. ไทลินอล 650 มิลลิกรัม / 1เม็ด คือ Tylenol 8 hr จะเป็นแบบพิเศษที่จะปล่อยตัวยา 325 มิลลิกรัมให้ออกฤทธิ์ในทันที ส่วนอีก 325 มิลลิกรัม จะค่อย ๆ ออกฤทธิ์ เป็นยาที่ออกฤทธิ์สม่ำเสมอ 8 ชั่วโมง ขณะที่ยาพาราเซตามอลที่เรารับประทานปกตินั้นจะออกฤทธิ์ 4-6 ชั่วโมง 

  4. คนที่คิดฆ่าตัวตายด้วยการกินพาราเซตามอลเกินขนาด ไม่ทำให้หมดสติได้อย่างใจนะคะ มันจะค่อย ๆ เกิดอันตรายต่อร่างกาย ช่วงแรกอาจไม่เป็นอะไร แต่จะเจ็บป่วยยาวนาน รวมถึงการคลื่นไส้อาเจียน เหงื่อแตก และตับวายเฉียบพลันหลังจากกินพาราเซตามอลเกินขนาดไปนานหลายชั่วโมง ถ้าคิดได้ทัน ควรพบแพทย์ในทันที เพราะจะเสียชีวิตภายใน 3-5 วัน 

  5. ไม่ควรให้ยาพาราเซตามอลแก่สุนัขหรือแมว เพราะหากคำนวณจากน้ำหนักตัวแล้ว สุนัขและแมวจะต้องกินยาน้อยมาก ๆ ซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์เป็นผู้สั่งยา มิฉะนั้นจะเป็นพิษต่อตับของน้องได้ อันตรายมาก ๆ  

  6. พาราแก้ไข้ แก้ปวด ก็มีส่วนประกอบของยาแก้อักเสบอยู่ด้วยนะ แต่เป็นชนิดไม่ใช่สเตรอยด์

  7. สำหรับใครที่ชอบคิดว่า "กินยาดักไว้ก่อนมีอาการ" จริง ๆ แล้ววิธีนี้มันไม่ได้ผลหรอกนะ  

  8. ห้ามกินพาราเซตามอลร่วมกับยารักษาวัณโรค และยารักษาโรคลมชัก เพราะจะออกฤทธิ์เพิ่มการเป็นพิษต่อตับสูงขึ้น 

  9. โรคหัวใจและโรคความดันสูง ไม่ควรกินยาแก้ปวดหรือพาราเซตามอล เพราะจะทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้น    

  10. อย่าให้พาราเม็ดแก่เด็กเล็กเอง น้องไม่สบายให้พบกุมารเวชเพื่อสั่งยาสำหรับเด็กให้นะคะ 

  11. หากลืมกินยาแก้ปวด ไม่จำเป็นต้องกินเพิ่มจำนวนในครั้งต่อไปนะคะ ก็กินเท่าเดิมในมื้อต่อไป 

  12. ห้ามกินยาพาราเซตามอลติดต่อกันเกิน 7 วัน  

  13. คนท้องห้ามกินเด็ดขาด เพราะอาจจเข้าสู่ร่างกายทารกได้  

     เห็นไหมล่ะ เรื่องของพาราเซตามอลนั้นมีรายละเอียดมากกว่าที่พวกเราหลายคนรู้ มีมากกว่านี้อีกนะแต่ออกจะวิชาการเกินไปเลยขอฝากไว้เท่านี้ เพื่อให้รู้เป็นพื้นฐาน ไม่ใช่กินมั่ว ๆ ไม่กลัวกันเลย พาราเซตามอลก็มีพิษเช่นกันหากกินกันผิด ๆ รู้ไว้แล้วแชร์ให้เพื่อนรู้กันด้วยสิ


เรื่องที่ต้องรู้(เพิ่ม)...

  • เมื่อเป็นหวัด ถ้าเรากินยาแก้หวัดตัวอื่นแล้ว หลีกเลี่ยงการกินพาราเซตามอลเพิ่มเข้าไป เพราะอาจเกินขนาดเป็นพิษต่อตับได้ 
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่กินยาพาราเซตามอล ต้องแจ้งแพทย์ตอนไปตรวจน้ำตาลในเลือดด้วย เพราะผลอาจพลาดได้ 
  • หากมีอาการข้างเคียงใด ๆ หลังกินยาพาราเซตามอล ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน 



What's new
รีวิวกันแดดนีเวียเกาหลี NIVEA SUN Sensitive Protect & Light Feel SPF50+ PA+++ เบาสบายผิว ฟีลกู๊ดรับซัมเมอร์!รีวิวไพรเมอร์สกินแคร์ SHISEIDO บำรุงผิวเรียบเนียน เมคอัพติดทนป้ายยา! 5 โฟมล้างหน้าลดสิว เคลียร์ทุกสิว ผิวสะอาดใส ไบร์ทขั้นสุดMEDMAKER Vitamin E Cream (เมดเมเกอร์ วิตามินอี ครีม)...ลด 3 รอย พร้อมบำรุง...ครีมวิตามินอีที่ควรมีติดบ้านจัดด่วน! 12 สีลิปมงคล เสริมดวงตามราศีเกิด สายมูต้องมี10 โรลออนรักแร้ขาวเนียนใส ลดตุ่มหนังไก่ พร้อมมอบกลิ่นหอมมั่นใจตลอดวัน11 Dry Shampoo (ดรายแชมพู) ไอเทมลับจัดการผมมัน ผมเหนียวดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 21 - 27 เม.ย. 67 (ทุกราศี) มือเหี่ยว มือแก่ ทําไงดี? 6 วิธีดูแลมือให้สวย อ่อนเยาว์ บอกลาปัญหามือเหมือนคนแก่กิจกรรม :: ชวนทดลองใช้ กันแดด BSC Expert White Spot Protect Sunscreen SPF50+ PA++++ ปิดจบทุกจุดดำ ผิวปังรับซัมเมอร์ จำนวน 50 รางวัล
COMMENTS
7 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ขอบคุณมากค่ะ
18 ธ.ค. 2561 เวลา 11:31 น.
ความคิดเห็นที่ 6
เพิ่งทราบบางข้อมูลจากโพสต์นี้เลย
12 พ.ค. 2561 เวลา 3:09 น.
ความคิดเห็นที่ 5
ขอบคุณข้อมูลดีๆ มีสาระ ได้ความรู้ด้วยค่ะ
25 เม.ย. 2561 เวลา 22:11 น.
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่า
20 เม.ย. 2561 เวลา 15:23 น.
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณค่ะ
12 เม.ย. 2561 เวลา 22:32 น.
ความคิดเห็นที่ 2
thx
12 เม.ย. 2561 เวลา 14:14 น.
ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณค่ะ
11 เม.ย. 2561 เวลา 10:40 น.